ม่อนจอง ดอยแห่งสายหมอก สวรรค์ของนักเที่ยว สายเดินป่า

ม่อนจอง ชมแสงอาทิตย์ ที่อมก๋อย ภาพแห่งความทรงจำ ที่อยากจะลืม

ม่อนจอง มาแล้วจ้า!! ลมหนาวมาแล้ว !! พอถึงฤดูหนาวเมื่อไร หลายคนก็ คิดถึงหมอก เย็น ๆ กางเต็นท์ชิว ๆ ยอดเขาสูง ๆ วิวสวย ๆ ดอยม่อนจอง เป็นชื่อหนึ่ง ที่ไม่คุ้นหู สักเท่าไร ของคนทั่ว ๆ ไป

เพราะคนส่วนใหญ่ อาจจะเคยได้ยิน แต่ดอยม่อนแจ่มกัน แต่สำหรับนักเที่ยว สายแคมป์ปิ้ง ชื่อนี้เป็นที่ รู้จักกันดี ถึงความสวยงาม แห่งหนึ่งในเชียงใหม่

ม่อนจอง มีอะไรน่าสนใจบ้าง ?

มารู้จักความหมาย ของคำว่า “ม่อนจอง” กันก่อน คำว่า ม่อน เป็นภาษาคำเมือง ที่แปลว่า เนินเขาหรือดอย ส่วนคำว่า จอง ออกเสียงว่า จ๋อง หมายถึง ลักษณะสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ดอยม่อนจอง ภาษาอังกฤษ ( Doi Mon Jong )

ที่เป็นจุดที่สูง ที่สุดของดอย ซึ่งมีชื่อเรียกว่า หัวสิงห์ ม่อนจอง สูง 1,929 เมตร จากระดับ น้ำทะเลปานกลาง 1 ใน 10 ของยอดดอยที่สูง ที่สุดในประเทศไทย

ดอยม่อนจ๋อง เป็นภูเขาสูง ที่มีขุนเขา สลับซับซ้อน บนทิวเขาถนนธงชัยตอนกลาง ครอบคลุมพื้นที่ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอ สามเงา จังหวัดตาก อยู่ในความดูแลของ หน่วยมูเซอ เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าอมก๋อย

ม่อนจอง

หัวสิงห์ ลานทุ่งหญ้าสีทอง กุหลาบพันปี

ดอยม่อนจอง อาถรรพ์ ของคนที่มาเยือน แล้วต้องได้กลับมา อีกสักครั้งหนึ่งในชีวิต เพราะที่นี่มีจุดชมวิวที่สูง ที่สุดของดอย ซึ่งมีชื่อเรียกว่า หัวสิงห์ เป็นจุดชมวิว พระอาทิตย์ ที่สวยที่สุด แห่งหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งเป็นจุดดู พระอาทิตย์ขึ้น และพระอาทิตย์ตก ที่สวยงามมาก

ประกอบกับ มีลานทุ่งหญ้าสีทองอร่ามตา หรือเรียกว่า สนามกอล์ฟช้าง ที่เป็นที่ชื่นชอบ ของนักท่องเที่ยว ที่นิยมมา เก็บความทรงจำ กับทุ่งหญ้าสีทอง ด้านบนม่อนจองกัน

ตามไหล่เขา ยังเต็มไปด้วย ดงกุหลาบพันปี ที่ออกดอกบานสะพรั่ง รับลมหนาว ไฮไลต์อยู่ที่ กุหลาบพันปีที่นี่ ถือว่าเป็นกุหลาบพันปี ต้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อีกด้วย

ที่นี่เต็มไปด้วย สัตว์หายาก นานาชนิดมากมาย ในอดีตดอยม่อนจอง เป็นดินแดนแห่งสรรพสัตว์ ที่ใช้ชีวิตอาศัยอยู่ รวมกัน อย่างอิสรเสรี เช่นกวางผา , กวางผาจีน หรือ ม้าเทวดา แห่งหุบผาป่าม่อนจอง และเลียงผา รวมทั้งโขลงช้างป่า

ม่อนจอง

เนินหมาหอบวัดใจ ก่อนไปสัมผัสแสงดาว และสายหมอก

เตรียมตัวเป็นหมาสมชื่อกันได้เลย จุดที่ชันที่สุดของที่นี่ มีลักษณะเป็น เนินเขาชันเป็นมุม 60 องศา เป็นจุดที่ใช้ทดสอบกล้ามขา ที่แท้ทรู

ไม่ไกลจาก สนามกอล์ฟช้าง  ผ่านจุดนี้ไปไม่ไกลลงไปในหุบเขา ก็จะถึงจุดกางเต็นท์ ม่อนจอง ที่พัก กางเต็นท์ที่อยู่ในพงป่า เพื่อเก็บสัมภาระ และพักเหนื่อย

ทิวแถวไม้ เป็นรั่วต้นไม้ที่ ช่วยกันลมกันหนาวได้ในระดับหนึ่ง ในช่วงกลางคืน ท่านสามารถ นอนดูดาวได้ชัดแจนราวกับ 4D เช้าตรู่ ชมทะเลหมอก ที่แผ่กระจาย ไปทั่วดอย บางวันหมอก จะลงจนหนามาก เห็นแต่สีขาวโพลน และแสงแรกของวัน

ถ้าท่านได้มีโอกาส ไปบรรยากาศ ด้วยตัวเองซักครั้ง ท่านจะลืมไม่ลง “ถ้าใจอยากไป ไกลแค่ไหนจะไปให้ถึง”

ที่นี่เปิดเฉพาะ ช่วงหน้าหนาว เพราะสภาพอากาศที่แห้ง เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า และยังต้องระวังภัยเรื่องช้างป่าที่ออกมาหากิน โดยปรกติ ม่อนจองเปิด ประมาณวันที่ 1 พฤศจิกายน – 28 กุมภาพันธ์ ของทุกปี

ทางขึ้นหลักอยู่ที่ บ้านมูเซอปากทาง ตำบลม่อนจอง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

การเดินทาง

จากตัวเมืองเชียงใหม่ โดยทางรถยนต์ ไปตามเส้นทาง จนถึงอำเภอฮอด ในทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ขับตามทางไปอีก 39 กม. เลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1099 ถึงบ้านปางโอ้งโม้ง ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย ที่หลักกิโลเมตรที่ 32 ไปยัง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย รวมระยะทาง ประมาณ 171 กม.

ม่อนจอง

ดอยม่อนจอง ในยุคโควิด

ด้วยสถานการณ์ ในตอนนี้ เป็นช่วงที่ยากลำบาก ที่จะไปไหนมาไหน หรือรวมกลุ่มกันทำอะไร ทั้งที่วางแผนจะไป ม่อนจอง คนเดียว หรือไปกันเป็นกลุ่ม เพราะในยุค COVID 19 ยุคของโรคระบาด ที่แพร่กระจาย ไปทั่วโลก สร้างผลกระทบ เป็นวงกว้าง ทั้งเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และอื่น ๆ อีกมากมาย

การท่องเที่ยว ดอยม่อนจอง ก็เป็นอีกหนึ่งที่ ได้รับผลกระทบ ถึงแม้ช่วงนี้ ลุงตู่ ได้ประกาศ เปิดประเทศแบบ งง ๆ ที่ค้านสายตา ของคนทั่วไป หลายคนไม่เห็นด้วย หลายคนเห็นด้วย เพราะเบื่ออยากจะเที่ยว

ดอยม่อนจอง ก็เปิดเป้าหมาย ที่ดีในการ ออกไปเที่ยว จากมาตรการ จากภาครัฐ ที่ออกระเบียบ ในการท่องเที่ยว เช่นต้องแจ้งขออนุญาตล่วงหน้า ต้องฉีดวัคซีนก่อนไป ต้องผ่านการ ตรวจหาเชื้อก่อน การจำกัดจำนวน นักท่องเที่ยว ที่ทำให้อุ่นใจได้

แต่ล่าสุด จากมติที่ประชุม ของกลุ่มชาวบ้าน มูเซอปากทาง ได้ลงความเห็น ในวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ได้มีมติว่า ให้ปิดดอยม่อนจอง

ประกาศจาก ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ดอยม่อนจอง แจ้งปิดการท่องเที่ยว ดอยม่อนจอง ประจำปี 2564-2565 ลงประกาศเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 ซึ่งประกาศก่อน นายกตู่ประกาศ เปิดประเทศไม่กี่วัน

แต่ไม่ต้องเสียใจไป นักท่องเที่ยวสามารถ เลือกขึ้นเส้นทาง บ้านห้วยปูลิงได้ ที่อาจจะลำบาก กว่าทางขึ้นหลัก ไปสักหน่อย หรือไม่ก็อดใจรอ ในปีหน้าน่ะจ๊ะ

___ หลงวาริน ___